พระที่นั่งวิมานเมฆ เขตดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ที่พักกรุงเทพมหานคร{ พบ 43 รายการ }
Fullrich Residence ลาดพร้าว 71Fullrich Residence ลาดพร้าว 71 ทุกการออกแบบภายใต้แนวคิด เเข้าชม: 999 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริ 5สินสิริ 5 ห้องพักหรูแบบโรงแรม ในราคาสุดประหยัด ห้องพักราเข้าชม: 1009 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริรีสอร์ทสินสิริรีสอร์ท ห้องพักหรูหลากสไตล์เข้าชม: 987 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริ 1 ลาดพร้าว 130ห้องพักรายวัน - รายเดือน ในราคาสุดประหยัดเข้าชม: 1011 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริ 3 ลาดพร้าว 83ห้องพักหลากสไตส์ อยู่ด้านข้าง บิกซีลาดพร้าวเข้าชม: 999 | ความคิดเห็น: 0
สินสิริ 2สินสิริ 2 ห้องพักหรูแบบโรงแรม (ตรงข้าม บิ๊กซีลาดพร้าว) ในรเข้าชม: 993 | ความคิดเห็น: 0
บ้านหนึ่ง เซอร์วิทอพาร์ทเมนท์บ้านหนึ่ง เซอร์วิทอพาร์ทเมนท์ ห้องพักตบแต่งอย่างมีสไตร์พร้อเข้าชม: 987 | ความคิดเห็น: 0
TK.PALACE HOTEL & CONVENTIONโรงแรมทีเค. พาเลซให้บริการห้องพักและห้องสวีทหรูกว่า 180 ห้องเข้าชม: 987 | ความคิดเห็น: 0
lebua at State Towerlebua is an all-suite hotel where every one of our 357 suiteเข้าชม: 988 | ความคิดเห็น: 0
@1150 Villa@ 1150 Villa?s address: 1150, Soi. Jun43 Road or Soi. Satooเข้าชม: 990 | ความคิดเห็น: 0
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ซึ่งปลูกไว้ที่เกาะสีชัง แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ มาปลูกใหม่ที่สวนดุสิต และได้ทรงวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 30 สิงหาคม 2443 มาแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2444 รวมเวลาทั้งสิ้น7 เดือน
พระที่นั่งวิมานเมฆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในวังสวนดุสิตนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกำกับการออกแบบ มีน้ำล้อมรอบคล้ายกับตั้งอยู่กลางเกาะ มีคลองร่องไม้หอมอยู่ทางทิศตะวันออก คลองรางเงินอยู่ทางทิศตะวันตก อ่างหยกอยู่ทางทิศใต้ และคลองคาบแผ่นกระจกอยู่ทางทิศเหนือ น้ำจะมีสีเขียวเหมือนหยก ซึ่งเกิดโดยธรรมชาติ อาคารสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง เป็นรูปตัว L คือสร้างเป็นรูปสองแฉกตั้งฉากกัน ด้านทิศใต้ขนานกับอ่างหยก ด้านทิศตะวันออกขนานกับคลองร่องไม้หอม แต่ละด้านยาว 60 เมตร เป็นอาคารสามชั้น ยกเว้นส่วนที่ประทับ ซึ่งเรียกว่า "แปดเหลี่ยม" นั้นสร้างเป็นสี่ชั้น ชั้นที่อยู่ติดดิน ก่อด้วยอิฐ ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมาเป็นเรือนไม้ มีห้องทั้งสิ้นจำนวน 31 ห้อง ส่วนกว้างที่สุดวัดได้ 35 เมตร ส่วนกว้างทั่วไป 15 เมตร ส่วนสูงวัดถึงเพดานชั้นสี่ สูง 20 เมตร หากวัดถึงยอดปลายแหลมของหลังคาได้ 25 เมตร ที่ปลายสุดด้านขนานกับอ่างหยก ทางทิศติดคลองรางเงินนั้น มีโรงเฟิน เป็นเรือนต้นไม้ สำหรับพระราชวังดุสิต ภายในมีน้ำพุ มีอัฒจันทร์ 3 แห่ง ด้านทิศตะวันออก จากพระที่นั่งอภิเษกดุสิต ข้ามคลองร่องไม้หอมมา ตรงไปจรดอัฒจันทร์ ทางขึ้นพระที่นั่งวิมานเมฆ ทางเดินปูด้วยหินขนาดใหญ่ ด้านทิศใต้ ตรงข้ามกับเรือนต้น ซึ่งตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งของอ่างหยก และบริเวณ "แปดเหลี่ยม" มีอัฒจันทร์ขนาดใหญ่ ยื่นออกไปเป็นมุขศาลาท่าน้ำ ที่ริมอ่างหยก
ในปี พ.ศ. 2525 ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสำรวจพบว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ ยังอยู่ในสภาพดี มีศิลปวัตถุ ตลอดจนภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ประดับอยู่เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ซ่อมแซมโดยรักษาสภาพเดิมไว้ให้ได้ดีที่สุด และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นเมื่อเสร็จ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2525
ในปัจจุบัน องค์พระที่นั่งชั้นสอง จัดแสดงเครื่องเงินฝีมือประณีต ในแบบต่างๆ เครื่องลายครามนานาชนิด รวมทั้งชุด จ.ป.ร. ที่สวยงาม เครื่องถมปัด ธารพระกร เครื่องกระเบื้อง ตลอดจนงาช้าง และเขาสัตว์ที่ทรงสะสมไว้ ชั้นสาม จัดแสดงเครื่องแก้วเจียระไน เครื่องเบญจรงค์ เครื่องของเล่นขนาดเล็ก เครื่องลายคราม เครื่องถม ตลอดจน ได้จัดตกแต่งท้องพระโรง ห้องทรงพระอักษร ห้องเสวย และหมู่ห้องไทยไว้อย่างพร้อมมูลด้วย ชั้นสี่ จัดเป็นหมู่ห้องพระบรรรทม ประกอบด้วยห้องสำคัญ 4 ห้อง คือห้องทรงงาน ห้องพระบรรทม ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ทุกๆ ห้องได้จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยทรงในอดีตสมัย
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
หุ่นกระบอกจิ๋ว ปั้นจากดินญี่ปุ่นเป็นรูปตัวละครในวรรณคดีไทยหลายๆ เรื่อง มีการตัดเย็บเสื้อผ้าอย่างงดงาม เหมาะเป็นของที่ระลึก 1 ชุดมี 2 ตัว บรรจุในกล่องใส กว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 26 เซนติเมตร สูง 23 เซนติเมตร ผลงานการสร้างสรรค์ของกลุ่มซุ้มสะบันงา แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา
การเดินทาง
อยู่ในเขตพระราชวังดุสิตหลังพระที่นั่งอนันตสมาคม ประตูหน้าที่จำหน่ายบัตรอยู่ด้านถนนราชวิถีใกล้กับแยกถนนพิชัย
ข้อมูลการติดต่อ
สำนักพระราชวัง โทรศัพท์ 0 2628 6300 สำนักงาน ททท. ถนนราชดำเนินนอก โทรศัพท์ 0 2282 9775 และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว ( Call Center) 1147
ข้อแนะนำ
เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30 - 16.00 นาฬิกา อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 75 บาท เด็ก นักเรียน นิสิต นักศึกษา และนักบวช 20 บาท ผู้เข้าชมต้องแต่งกายสุภาพ และไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในอาคาร
แหล่งข้อมูล
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)