พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
:จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่พักพระนครศรีอยุธยา{ พบ 21 รายการ }
เวลเนสโฮม รีสอร์ท แอนด์ สปา พระนครศรีอยุธยารีสอร์ทสำหรับคนรักษ์สุขภาพ อยู่บนเนื้อที่กว่า 1200 ไร่ ความสเข้าชม: 1007 | ความคิดเห็น: 0
THE LIMA PLACEWelcome to The Lima Place The Lima Place is a modern stylisเข้าชม: 995 | ความคิดเห็น: 0
บ้านจิตต์วิไลจิตต์วิไล เพลส และ บ้านจิตต์วิไล ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าชม: 1007 | ความคิดเห็น: 0
Pludhaya Resort & SpaPludhaya Resort & Spa, the first Thai style boutique resเข้าชม: 989 | ความคิดเห็น: 0
the P.U. INN UBONPONWelcome to the P.U. INN UBONPON One of the best places toเข้าชม: 989 | ความคิดเห็น: 0
ผักไห่ แอ๊คคลูซีพ เฮ้าส์ผักไห่ แอ๊คคลูซีพ เฮ้าส์เข้าชม: 993 | ความคิดเห็น: 0
กระท่อมเจ้าพระยาเรือนอาหารเจ้าพระยา อิ่มอร่อยกับอาหารไทยสดๆ จากแม่น้ำบนเเข้าชม: 1000 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรมอยุธยาธานีโรงแรมอยุธยาธานี เชิญคุณมาสัมผัส ห้องพักสไตล์โมเด้น ตั้งอยู่เข้าชม: 998 | ความคิดเห็น: 0
The U-Thong InnThe U-Thong Inn is conveniently situated north of Bangkok inเข้าชม: 988 | ความคิดเห็น: 0
Baan Suan means Garden HouseBaan Suan means Garden House in Thai. When we, the property เข้าชม: 988 | ความคิดเห็น: 0
Woraburi Hotels & ResortsWelcome to Woraburi Hotels & Resorts ?Experience the difเข้าชม: 980 | ความคิดเห็น: 0
มีทองเกสท์เฮาส์มีทองเกสท์เฮาส์เข้าชม: 1404 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรม ณ อยุธยา ยินดีต้อนรับโรงแรม ณ อยุธยา ยินดีต้อนรับ ขอต้อนรับท่านเข้าสู่โรงแรม ณเข้าชม: 1003 | ความคิดเห็น: 0
Ayutthaya Garden RiverAyutthaya Garden River Home is like a Gateway to Ayutthaya Wเข้าชม: 978 | ความคิดเห็น: 0
ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้ามกับสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์ที่ขุดได้จากกรุ วัดราชบูรณะซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2504 และที่นี่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีรูปแบบการจัดแสดงแบบใหม่คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงจำนวนไม่มากจนเกินไปและใช้แสง สี มาทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ สิ่งสำคัญที่น่าชมภายในพิพิธภัณฑ์ ได้แก่
บริเวณพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นอาคารจัดแสดง 3 อาคาร คือ
อาคาร 1 ชั้นล่าง จัดแสดงโบราณศิลปะวัตถุที่ค้นพบจากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในจังหวัดพระ นครศรีอยุธยา ระหว่างพ.ศ.2499–2500 ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวารวดี ลพบุรี อยุธยา พระพุทธรูปสำคัญที่จัดแสดงได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท เป็นพระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวาราวดี ในท่าประทับนั่งห้อยพระบาทซึ่งเคยประดิษฐานในซุ้มพระสถูปโบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม กรมศิลปากรได้พยายามติดตามชิ้นส่วนต่างๆ ขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ มาประกอบขึ้นเป็นองค์พระได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นพระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่งซึ่งในโลกพบเพียง 6 องค์เท่านั้น คือในประเทศไทย 5 องค์และในประเทศอินโดนีเซีย 1 องค์ ในประเทศไทยประดิษฐานอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม 2 องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 1 องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา 1 องค์และวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 องค์ เศียรพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ทำด้วยสัมฤทธิ์มีขนาดใหญ่มากได้มาจากวัดธรรมมิกราช แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัดและฝีมือการหล่อวัตถุขนาดใหญ่ในสมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีเครื่องไม้จำหลักฝีมือช่างสมัยอยุธยา
ชั้นบน จัดแสดงเครื่องทอง 2 ห้อง ห้องแรก จัดแสดงเครี่องทองที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เมื่อพ.ศ 2500 โบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ พระแสงขรรค์ชัยศรีทองคำ องค์พระแสงขรรค์ทำด้วยเหล็กมีคมทั้ง 2 ด้าน ฝักทำด้วยทองคำจำหลักลายประจำยาม ลายกนกประดับอัญมณี ด้ามทำด้วยหินเขี้ยวหนุมาน ห้องที่สอง จัดแสดงเครื่องทองที่พบในกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งบรรจุอยู่ในผอบทองคำ ส่วนที่รอบเฉลียง จัดแสดงพระพิมพ์ที่ทำด้วยชิน(โลหะเจือชนิดหนึ่งประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก; บุทองแดง)และดินเผา สมัยสุโขทัย ลพบุรี และสมัยอยุธยาที่ค้นพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุและวัดพระราม
อาคาร 2 จัดแสดงโบราณศิลปะวัตถุที่พบในประเทศไทยตามลำดับอายุสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 11-24 คือ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยาและรัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบโบราณวัตถุสำคัญที่จัดแสดง เช่น พระพุทธรูปปางต่าง ๆ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระคเณศ
อาคาร 3 เป็นเรือนไทยที่สร้างเป็นหมู่เรือนไทยภาคกลางปลูกอยู่กลางคูน้ำ ภายในเรือนไทยจัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยสมัยก่อน เช่น หม้อดินเผา กระต่ายขูดมะพร้าวและเครื่องจักสานต่าง ๆ
โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาในอดีตไว้อย่างน่าชมน่าศึกษา
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. ปิดวันจันทร์และวันอังคาร
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 3524 1587
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา จากนั้นข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วตรงไปประมาณ 2 ไฟแดง ไปอีกไม่ไกลนักจะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางขวามือ