ฟอสซิลไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ที่พักกาฬสินธุ์{ พบ 0 รายการ }
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ในยุคดึกดำบรรพ์ภาคอีสานเคยเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ดึกดำบรรพ์ มีการค้นพบฟอสซิลของสัตว์โลกยุคโบราณ ซึ่งหลายชนิดเป็นพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งพบเจอเป็นครั้งแรกของโลก โดยเฉพาะภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) ไดโนเสาร์กินพืชตระกูลซอโรพอดส์ ซึ่งพบหลายซากในเขตจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะบริเวณภูกุ้มข้าว ในวัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ ขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ถึง 8 ซากภายในหลุมเดียวกันเมื่อปี พ.ศ. 2537 นับเป็นหลุมขุดค้นที่มีซากไดโนเสาร์รวมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย
ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการค้นพบซากรอยเท้าไดโนเสาร์เป็นจำนวนกว่า 20 แห่ง และที่พบซากไดโนเสาร์มี 3 คือ ภูกุ้มข้าว ภูปอ และภูผางัว การค้นพบซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าวเป็นการพบโดยบังเอิญ เจ้าอาวาสวัดสักกะวันพบชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ แต่เข้าใจว่าเป็นแท่งไม้ที่กลายเป็นหิน จึงไม่ได้ใส่ใจอะไร จนกระทั้งเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีและนักวิชาการขอนำไปศึกษา ความจึงปรากฎว่าเป็นกระดูกสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีการขุดพบซากไดโนเสาร์ชนิดกินพืช จำนวนมากกว่า 600 ชิ้น ในปี พ.ศ. 2537 สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 130 ล้านปี
ภูกุ้มข้าวอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นภูเขาเดี่ยวในพื้นที่ ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบได้เป็นอย่างดี นับจากปี พ.ศ. 2537 ได้มีการพัฒนาพื้นที่ภูกุ้มข้าวเรื่อยมา ได้แก่การสร้างอาคารคลุมหลุมขุด อาคารปฏิบัติการ อุทยานสัตว์โลกล้านปีภูกุ้มข้าว พิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ถนนและลานจอดรถ รวมถึงการปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ ปัจจุบันยังคงมีการดำเนินการขุดค้นและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
ผ้าไหมแพรวาผู้ไทย ทอจากไหมด้วยลายมัดหมี่ที่ละเอียดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นงานฝีมือของชาวผู้ไทยบ้านโพน ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสนับสนุนจนเป็นที่แพร่หลาย หาชมและเลือกซื้อได้ที่ศูนย์วิจิตรแพรวา บ้านโพน อำเภอคำม่วง โทรศัพท์ 0 4385 6101
การเดินทาง
ใช้เส้นทางสายกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ถึง กิโลเมตรที่ 28 แยกตรงโรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษาไปอีก 2 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปวัดสักกะวัน อีก 1 กิโลเมตร รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร
ข้อมูลการติดต่อ
สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 โทรศัพท์ 0 4324 4498-9 หรือ ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยว 0 4387 1074
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว ( Call Center) 1147
ข้อแนะนำ
หลุมขุดค้นอยู่ห่างจากโบสถ์วัดสักกะวันเพียง 150 เมตร กรมทรัพยากรธรณีสร้างอาคารครอบหลุมไว้ ภายในแสดงข้อมูลชนิดและแหล่งที่พบไดโนเสาร์ในประเทศไทยอย่างละเอียด เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 นาฬิกา ใกล้กันมีอาคารพิพิธภัณฑ์โบราณชีววิทยา ซึ่งเป็นศูนย์ศึกษาเรื่องโบราณชีววิทยาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย
แหล่งข้อมูล
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)