หมู่บ้านไทยโซ่ง
:จังหวัดนครปฐม
ที่พักนครปฐม{ พบ 4 รายการ }
บ้านคลองสวน โฮมสเตย์ : Homesyay Baanklongsuanบ้าน คลอง สวน โฮมสเตย์ เป็นบ้านพักที่บรรยากาศโดยรอบสะอาดสะดวเข้าชม: 1000 | ความคิดเห็น: 0
บ้านคลองสวน โฮมสเตย์ ที่พักจังหวัดนครปฐม"หน้านี้...เชิญท่านได้สัมผัสหิ่งห้อยท่ามกลางธรรมชาติอย่เข้าชม: 1005 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรมโรสการ์เด้น ริเวอร์ไซด์ประวัติ พ.ศ.2505 ดร.ชำนาญ และ คุณหญิงวลี ยุวบูรณ์ ตัดสเข้าชม: 993 | ความคิดเห็น: 0
Salaya Pavilion Hotel and Training CenterThe Salaya Pavilion Hotel and Training Centerเข้าชม: 986 | ความคิดเห็น: 0
ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะแรต ตำบลบางปลา อยู่ห่างจากอำเภอบางเลนมาทางทิศใต้ ตามเส้นทางสายบางเลน-ดอนตูม ประมาณ 9 กิโลเมตร หรือ ทางหลวงหมายเลข 3296 กิโลเมตรที่ 5 เป็นหมู่บ้านของชาวไทยเชื้อสายโซ่ง (หรือไทยทรงดำหรือไทดำ) ซึ่งอพยพเข้ามาเมืองไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2311 เข้ามาอยู่ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาได้ขยับขยายที่ทำกินไปตามจังหวัดต่างๆ เช่น นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย เลย พิจิตร พิษณุโลก เป็นต้น วัฒนธรรม วิถีชีวิตและประเพณีของชาวไทยทรงดำเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การแต่งกาย ชาวไทยโซ่งชอบใช้เครื่องแต่งกายสีดำหรือสีครามเข้มจนเกือบดำ ผู้หญิง ไว้ผมยาวเกือบ 1 เมตร เพื่อทำทรงผม เรียกว่า ปั้นเกล้า ไว้กลางศีรษะและสับปิ่นไว้ เสื้อผ้ามีเสื้อก้อม เสื้อฮี ผ้าเปียว ผ้าซิ่นสีครามแก่มีลายทางสีฟ้า เรียกว่า ลายแตงโม ผู้ชาย สวมเสื้อก้อมหรือเสื้อไทแขนยาว กางเกงขายาวเรียกว่า “ส้วงขาฮี หรือ ส้วงก้อม” มีสีดำ และ “เสื้อฮี” เป็นเสื้อประจำตัวในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ บ้านของชาวไทยทรงดำเป็นแบบดั้งเดิมโบราณ เป็นบ้านแบบเครื่องผูกวัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ไผ่ เช่น ฝาบ้าน พื้นบ้าน โครงสร้างหลังคาสูงชัน มุงด้วยหญ้าแฝก ใต้ถุน อุปนิสัยชาวไทยทรงดำ รักสงบ ซื่อสัตย์ อดทน ขยันขันแข็ง มีความรักและสามัคคีในหมู่คณะ รักความสนุกสนานเพลิดเพลิน
นอกจากนั้นภายในหมู่บ้านมีหัตถกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การทอผ้า และเครื่องจักสานต่าง ๆ ชาวไทยทรงดำยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณี ทุกปีในวันที่ 14 เมษายน จะมีงานประจำปีของหมู่บ้านคือ ประเพณีสงกรานต์ และมีสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น เสื้อผ้า ข้าวซ้อมมือ ทองม้วน กล้วยฉาบ ผู้สนใจสามารถศึกษาวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กำนันไพศาล เพชรรุณ หรือ ผู้ใหญ่บุญเรือน สีเขียว โทร. 0 1803 1792