วัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร
:จังหวัดสมุทรสงคราม
ที่พักสมุทรสงคราม{ พบ 38 รายการ }
บ้านเรือไทยอัมพวาเชิญท่องเที่ยวพักผ่อนเชิงอนุรักษ์ ดื่มด่ำกับธรรมชาติริมคลองบเข้าชม: 1009 | ความคิดเห็น: 0
เพลินใจ@อัมพวา รีสอร์ทเพลินใจ@อัมพวา รีสอร์ท ? อ้อมกอดแห่งสายน้ำ ? ที่พักอเข้าชม: 1018 | ความคิดเห็น: 0
บ้านสิรีน SereneHome@Samutsongkramบ้านพักเงียบสงบอบอุ่นแบบ Bed & Breakfast จากตลาดน้ำยาเข้าชม: 1005 | ความคิดเห็น: 0
บ้านบนโฮมสเตย์ ที่พักอัมพวา ริมแม่น้ำแม่กลอง ที่พัก บ้านพักริมน้ำ โฮมสเตย์อัมพวา เรือนไทยไม้สักทองทั้งหลัเข้าชม: 1023 | ความคิดเห็น: 0
บุญญากาญจน์ รีสอร์ท & เกสเฮ้ารีสอร์ท น่ารัก พักสบายๆ สไตล์6เหลี่ยม พร้อมเครื่องอำนวยความเข้าชม: 999 | ความคิดเห็น: 0
บ้านครูต้อย โฮมสเตย์บ้านครูต้อยโฮมสเตย์ ที่พักบรรยากาศสวนร่มรื่น ใกล้ตลาดน้ำอเข้าชม: 1003 | ความคิดเห็น: 0
บ้านใบเฟิร์น โฮมสเตย์สัมผัสกับวิถีชืวิตชาวบ้านบ้านริมน้ำ บ้านริมน้ำร่มเย็นและร่มรเข้าชม: 1013 | ความคิดเห็น: 0
บ้านดาหลาบ้านดาหลาเข้าชม: 1015 | ความคิดเห็น: 0
คุ้มขุนศรีวังชัยคุ้มขุนศรีวังชัย บ้านทรงไทยริมคลองอัมพวา ทางเลือกใหม่ของกเข้าชม: 1007 | ความคิดเห็น: 0
บางคนที โฮมสเตย์เป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ และรีสอร์ท มีบ้านพักแบบบ้าน หลังเล็กๆเข้าชม: 995 | ความคิดเห็น: 0
บ้านสวนทรายทองบ้านสวนทรายทองโฮมสเตย์ประยุกต์ สไตล์รีสอร์ท บ้านพักริมน้ำ ท่เข้าชม: 1017 | ความคิดเห็น: 0
เรือนกระดังงารีสอร์ทเรือนกระดังงารีสอร์ท สมุทรสงคราม ถ้าคุณจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นเข้าชม: 1033 | ความคิดเห็น: 0
บ้านวิวแม่น้ำเพียง 1 ชั่วโมงจากกรุงเทพ คุณก็สามารถหลีกหนีจากความสับสนวุ่นเข้าชม: 1001 | ความคิดเห็น: 0
บ้านไม้ชายเลน?บ้านไม้ชายเลน? บ้านพักท่ามกลางธรรมชาติ ที่คุณจะได้สนุกกับเข้าชม: 1004 | ความคิดเห็น: 0
ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง บริเวณถนนเพชรสมุทร เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดเดิมชื่อ วัดศรีจำปา ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา ปี พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่กลองเหนือวัดศรีจำปา จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชรและช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา เรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม”
ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของไทย ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ศูนย์รวมศรัทธาและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่กลองแห่งสมุทรสงครามเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เคารพสักการะอย่างกว้างขวางของชาวไทยทุกสารทิศมานานนับสมัยจนถึงกับมีคำกล่าวว่า หากไม่ได้มานมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลมก็เสมือนมาไม่ถึงเมืองสมุทรสงคราม
องค์หลวงพ่อวัดบ้านแหลมนั้นเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร สันนิษฐานว่าสร้างในมัยสุโขทัย-อยุธยาตอนต้น มีประวัติกล่าวว่า หลวงพ่อบ้านแหลมนั้นเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการค้นพบในลำน้ำแม่กลอง ดังตำนานเก่าเล่าว่าชาวประมงได้ลากอวนพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ซึ่งได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดเก่าแก่ในเมืองแม่กลองที่ชื่อว่าวัดศรีจำปา ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าวัดบ้านแหลม ทำให้ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อบ้านแหลมเรื่อยมา ขณะที่อีกองค์หนึ่งนั้นเป็นพระพุทธรูปนั่งซึ่งชาวประมงได้นำกลับไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี บางกระแสกล่าวไว้ว่า การค้นพบหลวงพ่อนั้นเกี่ยวกับตำนานของห้าพระพุทธรูปพี่น้องที่ลอยน้ำมาพร้อมกันจากเมืองเหนือ คือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโตวัดบางพลี หลวงพ่อวัดเขาตะเครา และหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งชาวบ้านริมฝั่งน้ำที่พบเห็นและศรัทธาได้อัญเชิญไปประดิษฐานในแต่ละวัดตามท้องถิ่นของตนเพื่อกราบไหว้บูชาสืบไป
กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาในหลวงพ่อบ้านแหลมเป็นอย่างมาก และเสด็จมานมัสการพร้อมทั้งได้พระราชทานผ้าดิ้นทองแก่หลวงพ่อจำนวนสองผืน ซึ่งทางวัดจะนำมาประดับที่องค์หลวงพ่อในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันทอดกฐินพระราชทาน สำหรับบาตรแก้วสีน้ำเงินของหลวงพ่อที่ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้นั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดชได้ถวายหลวงพ่อไว้เป็นพุทธบูชา เนื่องจากบาตรเดิมนั้นได้สูญหายไปในทะเลตั้งแต่คราวที่ชาวประมงได้พบหลวงพ่อในอ่าวแม่กลอง
ต่อมาวัดนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร” เปิดให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.00-17.00 น. นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดเพชรสมุทรยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์ จัดแสดงพระพุทธรูป และพระเครื่องสมัยต่าง ๆ โบราณวัตถุเครื่องลายคราม และธรรมมาสน์บุษบกสมัยกรุงศรีอยุธยา ปกติไม่เปิดให้เข้าชม ต้องติดต่อเจ้าอาวาสก่อนล่วงหน้า
ความเชื่อและวิธีการบูชา เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วจะช่วยเสริมอำนาจบารมีแก่ชีวิต บังเกิดแต่ความเป็นสิริมงคลสืบไป หากใครอธิษฐานของพรหลวงพ่อไว้ในเรื่องใดก็มักจะได้สมความปรารถนาและมักจะกลับมาแก้บนหลวงพ่อด้วยละครรำ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ท่านโปรดปราน
งานปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม จะจัดขึ้นไปช่วงเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปีซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ของชาวไทยและชาวรามัญ งานสารทเดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) และช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยมีครั้งละประมาณ 7 วัน