วัดโกรกกราก
:จังหวัดสมุทรสาคร
ที่พักสมุทรสาคร{ พบ 2 รายการ }
โฮมสเตย์หมู่บ้านเคื่องเบญจรงค์โฮมสเตย์หมู่บ้านเครื่องเบญจรงค์บ้านกลาง เริ่มจากแต่เดิมในชุมเข้าชม: 1012 | ความคิดเห็น: 0
เซ็นทรัล เพลสเราสรรสร้างห้องพักผ่อนที่โรแมนติค รวมห้องนั่งเล่นที่เป็นส่วนเข้าชม: 1015 | ความคิดเห็น: 0
ตั้งอยู่ที่ตำบลโกรกกราก ฝั่งมหาชัย อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่ ริมแม่น้ำท่าจีน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สิ่งก่อสร้างประกอบด้วย พระอุโบสถไม้ เจดีย์ราย 2 องค์ สิ่งที่น่าแปลกของวัดนี้คือ พระประธานในโบสถ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลาแลงปางมารวิชัย และรูปเหมือนหลวงปู่กรับ หรือพระครูธรรมสาคร อดีตเจ้าอาวาสวัดโกรกกราก ล้วนแต่ใส่แว่นตาดำ กล่าวกันว่าเคยมีผู้มาบนบานศาลกล่าวให้อาการบาดเจ็บที่ดวงตา
หายขาด แล้วจึงถวายแว่นดำเป็นการแก้บน ผู้คนจึงนิยมถวายแว่นตาดำสวมไว้ตลอดนับแต่นั้นเป็นต้นมา
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 3242 เลยโรงพยาบาลสมุทรสาครประมาณ 500 เมตร เลี้ยวขวาตรงสามแยกเข้าถนนกิจมณี (ทางหลวงหมายเลข 3243) ตรงไปข้ามทางรถไฟและสะพานข้ามคลองมหาชัย ลงสะพานแล้วเลี้ยวขวา ผ่านโค้งวัดตึกมหาชยาราม ตรงไปอีกราว 2.5 กิโลเมตร
มีบริการถสองแถวสายมหาชัย-บ้านโกรกกราก ที่คิวรถถนนราษฎร์บรรจบ
ความเป็นมาเกี่ยวกับพระประธานของวัด
หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก เป็นพระเนื้อศิลาแลง อายุมากกว่า 100 ปี พระประธานของวัดโกรกกราก มีความแปลกและน่าสนใจที่พระพุทธรูปที่วัดนี้สวมแว่นตาดำไว้ตลอด เดิมทีหลวงพ่อปู่ประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องสะเดา ซึ่งเป็นวัดร้างเก่าแก่ ริมแม่น้ำท่าจีน ห่างจากวัดโกรกกราก ไม่กี่กิโลเมตร ชาวรามัญบ้านกำพร้า จึงอัญเชิญลงเรือพร้อมพระเนื้อสำริดอีกองค์ ล่องมาตามแม่น้ำเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดอื่น ระหว่างล่องเรือเกิดพายุ ฝนตกหนัก จึงจอดเรืออุ้มพระศิลาแลง มาหลบฝนบนฝั่งหน้าวัดโกรกกราก เพื่อไม่ให้ถูกน้ำฝนกัดเซาะ พอลมฝนสงบ จะอุ้มลงเรือ แต่อุ้มไม่ขึ้น ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม หนึ่งในชาวบ้านจึงตั้งจิตอธิฐานว่า หากพระศิลาแลงต้องการจะอยู่ที่วัดโกรกกราก ก็ขอให้อุ้มพระขึ้น สุดท้ายสามารถอุ้มขึ้นได้ จึงอัญเชิญมาไว้ที่วัดโกรกกรากนับแต่บัดนั้น และเรียกกันว่าหลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก ส่วนที่ใส่แว่นตาดำไว้ตลอด เพราะ สมัยหนึ่งเกิดมีโรคตาแดงระบาดไปทั่วตำบลโกรกกราก รักษาอย่างไรก็ไม่หายขาด ชาวบ้านจึงมาบนบานกราบไหว้หลวงพ่อปู่ ว่าหายจากโรคตาแดง จะนำแว่นตาดำมาถวาย จากนั้นไม่นานชาวบ้านก็หายจากโรค จึงได้นำแว่นมาถวายและสวมไว้ตลอดจนถึงทุกวันนี้