วัดตำหนักใต้
:จังหวัดนนทบุรี
ที่พักนนทบุรี{ พบ 5 รายการ }
บ้านสวยอพาร์ทเม้นท์ แอนด์ โฮเตลห้องพักรายวันและห้องพักรายเดือน บ้านสวยอพาร์ทเม้นท์ แอนด์ โเข้าชม: 1008 | ความคิดเห็น: 0
ชัชวาลย์อพาร์ทเม้นท์ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี ห่างจากกรุงเทพ ประมาณ 45 นาที หรือ 10 นาเข้าชม: 985 | ความคิดเห็น: 0
นนท์นที รีสอร์ทนนท์นที รีสอร์ท เป็นรีสอร์ทที่ใกล้ชิดธรรมชาติ และสายน้ำซึ่งเเข้าชม: 982 | ความคิดเห็น: 0
บ้านอิงน้ำ เฮลท์ รีสอร์ท แอนด์ สปา?บ้านอิงน้ำ เฮลท์ รีสอร์ท แอนด์ สปา? ?จุดหมายแห่งชีวิต? เพีเข้าชม: 988 | ความคิดเห็น: 0
TD PLACE HOTELT.D. Place Revelation of the perfect residence. Elegantly dเข้าชม: 979 | ความคิดเห็น: 0
ตั้งอยู่บนถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างมาแต่สมัยใด
ทราบแต่เพียงว่า แต่เดิมวัดนี้เรียกกันว่า " วัดตำหนัก " จนกระทั่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2464 ทรงเห็นว่าวัดต่างๆ มีชื่อซ้ำกันหลายวัดจึงทำให้เติมชื่อว่าเหนือ และใต้ต่อท้าย จากชื่อวัดตามทิศที่ตั้ง สิ่งสำคัญภายในวัด พระอุโบสถหลังใหม่ ที่สร้างขึ้นโดยนำเอาหน้าบาน และประตูหน้าต่าง รวมถึงเพดานของพระอุโบสถหลังเก่ามาใช้ ซึ่งหน้าบันนั้นเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปนกประดับด้วยพุดตานเทศ มีรูปช้างทรงเครื่อง ยืนอยู่เหนือเมฆตรงกลางลายกระหนกอันวิจิตรและมีวิหารเก่าแก่ซึ่งมีหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปกระหนกดอกจอก มีรูปม้าทรงเครื่องอยู่ภายในกระหนก ซุ้มบานประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลายดอกไม้ปูนปั้นยังคงเหลืออยู่บ้างบางส่วนบานประตูและบานหน้าต่าง เขียนลายทองรดน้ำอีกทั้งหอระฆัง 2 ชั้นที่หลังคาทำเป็นรูปปรางค์ลึกเข้าไปด้านในของวัดเป็นกุฎิสงฆ์ที่ตั้งเรียงรายสวยงาม นับได้ว่าเป็นวัดที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง และร่มรื่นอีกแห่งหนึ่งของเมืองนนท์
อย่างไรก็ตามจากประวัติได้กล่าวว่า ก่อนที่จะสร้างวัดในพื้นที่นี้เคยสร้างเป็นพลับพลาที่ประทับชั่วคราวของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และจากหลักฐานที่คงเหลือยังสันนิษฐานว่า วิหาร และหอระฆังสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2367 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ฝาผนังภายในมีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระพุทธประวัติตามบานประตู และหน้าต่าง ลงรักปิดทองเขียนด้วยลายไทยอย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมีพระประธานปางมารวิชัยสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถวิหาร ศาลาวัดต่าง ๆ ในเมืองไทย นั้นมี มากมายหลายแห่ง เป็นทั้งสถานที่เผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป