วัดภูมินทร์
:จังหวัดน่าน
ที่พักน่าน{ พบ 9 รายการ }
เรือนสร้อยไข่มุก อ.เมือง จ.น่านเรือน สร้อยไข่มุก บ้านฟ้าใหม่ ต.ผาสิงห์ อ. เมือง จ. น่าน เข้าชม: 936 | ความคิดเห็น: 0
Nan Guest HouseBudget Accommodation clean rooms. Situated near the Center เข้าชม: 933 | ความคิดเห็น: 0
อูปแก้วรีสอร์ทโรงแรมอูปแก้วรีสอร์ทตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ขุนเขา แม่น้ำ แเข้าชม: 941 | ความคิดเห็น: 0
ไร่จุฑามาศ รีสอร์ทยินดีต้อนรับ สู่ปลายฟ้าล้านนาตะวันออก น่าน ดินแดนทางตอนเหนเข้าชม: 934 | ความคิดเห็น: 0
แกรนด์ แมนชั่นยินดีต้อนรับสู่โรงแรมแกรนด์แมนชั่นที่พักของเราเหมาะสำหรับนักเข้าชม: 939 | ความคิดเห็น: 0
น่าน วัลเล่ย์ รีสอร์ทNan...One of the northern provinces next to Loas which is veเข้าชม: 938 | ความคิดเห็น: 0
เดอะซิตี้ปาร์ค โฮเตลThe City Park Hotel is nestled on the quiet area just 5 minuเข้าชม: 936 | ความคิดเห็น: 0
เทวราชNan's finest hotel. Our hotel is located right in the heart เข้าชม: 936 | ความคิดเห็น: 0
เวียงสาพาราไดซ์การ์เดนท์แอนด์รีสอร์ทWe would like to invite you to come and enjoy the warm and fเข้าชม: 944 | ความคิดเห็น: 0
เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139 มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ“วัดพรหมมินทร์”แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์
จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค 2 ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหารและพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหาร และอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ได้จำลองพระวิหารหลังนี้ไว้ด้วย
สามร้อยปีต่อมา วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพเช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่ จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำ ไปป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆคล้ายภาพสมัยใหม่
ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ” ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น