เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง
:จังหวัดอุทัยธานี
ที่พักอุทัยธานี{ พบ 5 รายการ }
อวตาร สปา เมาท์เทน สวีท รีสอร์ทเอวา อวาตาร จะนำท่านไปสู่ธรรมชาติที่โอบล้อมด้วยขุนเขาเป็นทัศเข้าชม: 997 | ความคิดเห็น: 0
ห้วยขาแข้งคันทรีโฮม รีสอร์ท? บอกเล่าเรื่องราวของรีสอร์ทริมชายป่าห้วยขาแข้ง ป่ามรดกทางธเข้าชม: 991 | ความคิดเห็น: 0
บ้านสวนชลัมภ์ รีสอร์ทรีสอร์ทที่พรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ท่ามกลางธเข้าชม: 981 | ความคิดเห็น: 0
ริเวอร์ มารีน่า รีสอร์ทรีสอร์ทได้เปิดบริการ ตั้งแต่ปี 2547 ในรูปแบบของท่าจอดเรือท่อเข้าชม: 990 | ความคิดเห็น: 0
พญาไม้ รีสอร์ทพญาไม้รีสอร์ท : พักผ่อนกับครอบครัวหรือประชุมสัมมนาในบรรยากาศเข้าชม: 1003 | ความคิดเห็น: 0
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เริ่มเป็นที่รู้จักเพราะได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2534 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย
ห้วยขาแข้งมีพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ 3 จังหวัด คือ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 3,609,375 ไร่ หรือ 5,775 ตารางกิโลเมตร โดยมีการรวมพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเข้ามาด้วยทำให้เป็นผืนป่าอนุรักษ์ต่อเนื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะอากาศที่ห้วยขาแข้งหากเป็นฤดูร้อนจะร้อนมาก ฤดูฝนมีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน และมีฤดูหนาวสั้นมาก
ห้วยขาแข้งได้เป็นมรดกโลกเพราะสภาพป่าของที่นี่มีความหลากหลายทางธรรมชาติประกอบด้วยป่าถึง 5 ใน 7 ชนิด ที่พบในเขตร้อนชื้น ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ก่อให้เกิดความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ บางชนิดเป็นสัตว์ที่หายากใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ควายป่า เลียงผา เสือดาว หมาใน ไก่ป่า นกยูงไทย และยังมีแมลงป่าพันธุ์ต่าง ๆ อีกมากมาย
ปกติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ทั่วไป เพราะพื้นที่นี้จัดเป็นเขตอนุรักษ์และมีความอ่อนไหวสูง ฉะนั้นการมีคนจำนวนมากเข้าไปอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความไม่สมดุลของระบบนิเวศได้ แต่อย่างไรก็ดีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งได้กลายเป็นมรดกโลกและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงเปิดจุดผ่อนปรนทั้งหมด 3 จุด ให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปศึกษาธรรมชาติได้แบบไม่ค้างคืน
การเข้าไปในเขตฯ ควรปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ได้แก่
1.บริเวณสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
2.บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าไซเบอร์(ดูรายละเอียดที่น้ำตกไซเบอร์)
3. บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ดี (อยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านไร่ เส้นทาง 3011 ไปทางห้วยแม่ดี-บ้านใหม่คลองอังวะ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้ด้วย)
ในบริเวณที่ทำการเขตฯ มี รูปปั้นคุณสืบ นาคะเสถียร หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อดูความเป็นไปของผืนป่าตะวันตก มีบันได 8 ขั้น ที่สื่อความหมายว่าคุณสืบดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ อยู่ 8 เดือน และลวดลายบนบันไดบ่งบอกถึงอุปสรรคในการทำงานที่นี่
อาคารอนุสรณ์สถานสืบ นาคะเสถียร ซึ่งใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับคุณสืบไว้ด้วย “ผมคิดว่า ชีวิตผมได้ทำดีที่สุดแล้ว ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว ผมคิดว่า ได้ทำตามกำลังของผมดีแล้วและผมพอใจ ผมภูมิใจในสิ่งที่ผมทำ” เป็นคำกล่าวของคุณสืบ นาคะเสถียร ผู้เป็นกำลังสำคัญผลักดันให้ป่าห้วยขาแข้งได้กลายเป็นมรดกโลก
บ้านพักคุณสืบ ซึ่งภายในบ้านพักยังคงสภาพไว้เหมือนครั้งที่คุณสืบยังมีชีวิตอยู่ ในห้องนอนที่คุณสืบจบชีวิตลง มีโต๊ะทำงานซึ่งมีรูปภาพต่าง ๆ วางอยู่ เช่น รูปลูกสาว รูปคนงาน รูปป่าไม้ ด้านข้างโต๊ะมีรองเท้าวางอยู่สองสามคู่
และที่เราควรจะระลึกถึง คือ อนุสรณ์คนงานลาดตระเวน ที่ถูกยิงเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ อยู่บริเวณหน้าบ้านพักรับรอง หากมีโอกาสแวะมาที่ห้วยขาแข้งและได้มาเยี่ยมที่บ้านพักคุณสืบ หรือ ที่อาคารอนุสรณ์คนงานลาดตระเวน อาจจะได้อะไรกลับไปมากกว่าจิตสำนึกด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว
เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหินแดง มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตรใช้เวลาเดินประมาณ 4 ชั่วโมง มีจุดสื่อความหมายธรรมชาติทั้งหมด 18 จุด ประกอบด้วยป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง มีจุดชมวิวโป่งเทียน หลังเดือนธันวาคมจะมีนกหลายชนิด นกที่พบมาก เช่น นกแขกเต้า และนกโพระดก เส้นทางนี้ปกติเดินเองได้โดยขอคู่มือที่สำนักงานเขตฯ หากต้องการคนนำทางต้องติดต่อล่วงหน้าที่หน่วยป้องกันไฟป่าห้วยขาแข้ง โทร. 0 5651 3527 เส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้ปิดเดือนเมษายน
การเดินทาง มี 2 เส้นทาง คือ
1. เข้าทางที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 102 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 333 สายอุทัยธานี-หนองฉาง จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 3438 สายหนองฉาง-ลานสัก ถึงหลักกิโลเมตรที่ 53-54 เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการเขตด่านตรวจเขาหินแดง ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยทับเสลา จากที่ทำการเขตฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ต่อไปยังหน่วยพิทักษ์ป่ากะปุกกะเปียง ระยะทาง 14 กิโลเมตร และ สถานีวิจัยเขานางรำ ระยะทาง 17 กิโลเมตร
2. เข้าทางหน่วยพิทักษ์ป่าเขาบันได อยู่ทางทิศใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งห่างจากตัวจังหวัดอุทัยธานีประมาณ 137 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 333 สายอุทัยธานี-หนองฉาง แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3282 สายหนองฉาง-บ้านไร่ ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนลูกรังผ่านบ้านใหม่คลองอังวะอีกประมาณ 30 กิโลเมตรถึงด่านตรวจคลองระยาง ไปยังหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ดี และหน่วยพิทักษ์ป่าเขาบันได สามารถเดินป่าขึ้นล่องได้ทั้งด้านเหนือและใต้ของลำห้วยขาแข้ง
หากเดินทางในฤดูฝนรถจะเข้าไม่ได้เพราะธารน้ำจะสูงขึ้นท่วมถนนดินแดง
สถานที่พักแรม การเข้าพักแรมต้องไปติดต่อด้วยตนเองอย่างน้อย 20 วันล่วงหน้าที่ฝ่ายจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2561 4292-3 ต่อ 765 หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตู้ ปณ.7 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 61160 โทร. 0 5651 9654 จุดที่ได้รับอนุญาตให้พักแรมได้มีอยู่ 3 จุด จุดแรก คือ บริเวณสำนักงานเขตฯ มีบ้านพักขนาดพักได้ 10-30 คน จำนวน 3 หลัง และอาคารฝึกอบรมขนาดจุ 80 คน จุดที่สอง หน่วยพิทักษ์ป่าไซเบอร์ จุดที่สาม คือ หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ดี
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ดูได้ที่เว็บไซต์ www.huaikhakhaeng.net
หมายเหตุ : ปิดเส้นทางในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ปิดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 4 เส้นทาง ดังนี้
1. เส้นทางหน่วยพิทักษ์ป่าทินวย-ทิคอง-ซ่งไท้
2. เส้นทางหน่วยพิทักษ์ป่าทินวย-น้ำโจน
3. เส้นทางสะเนพ่อง-เกาะสะเดิ่ง
4. เส้นทางตะเคียนทอง-น้ำตกสะละวะ
โดยห้ามยานพาหนะทุกชนิดเข้า-ออกเป็นเวลา 5 เดือน ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 หากบุคคลใดมีเหตุจำเป็นไปใช้เส้นทางดังกล่าว ให้หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก พิจารณาผ่อนผันตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยสอบถามได้ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาญจนบุรี โทร. 0 3451 1566
Tags :สัตว์ป่าภูเขาการศึกษาที่พัก