ตรอกบ้านจีน
:จังหวัดตาก
ที่พักตาก{ พบ 12 รายการ }
กัญญาภัค การ์เด้น รีสอร์ทบริการนำเที่ยว น้ำตกทีลอซู ทีลอเล ทุ่งใหญ่นเรศวร บริการห้เข้าชม: 997 | ความคิดเห็น: 0
ที่พักแม่สอด ม่อนหินฝนฮัท บ้านพักส่วนตัว บรรยม่อนหินฝนฮัท ยินดีต้อนฮับเจ้า เสน่ห์บ้านไม้ กลิ่นไอขเข้าชม: 1006 | ความคิดเห็น: 0
ภูดอยแค้มป์ไซท์ แอนด์ รีสอร์ทภูดอยแค้มป์ไซท์&รีสอร์ท ขอสนับสนุน คนไทยท่องเที่ยวเมืองไเข้าชม: 983 | ความคิดเห็น: 0
บ้านพฤกษ์ชญา รีสอร์ทบ้านพฤกษ์รีสอร์ท ยินดีต้อนรับด้วยความอบอุ่นที่คุณสัมผัสได้ ขเข้าชม: 988 | ความคิดเห็น: 0
RAJABURI BOUTIQUE HOTEL ( ราชาบุรี บูติค โฮเทราชาบุรี บูติค โฮเต็ล ตาก "ประตูสู่ขุนเขา" ตื่นตากเข้าชม: 986 | ความคิดเห็น: 0
เสียงซึง รีสอร์ทสะท้อนให้เห็น วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของ คนเมืองเหเข้าชม: 979 | ความคิดเห็น: 0
Suansin Lanna Garden HotelWelcome to Suansin Lanna Garden Hotel where will embrace youเข้าชม: 976 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์เข้าชม: 988 | ความคิดเห็น: 0
โรงแรม ตาก อันดามัน รีสอร์ทโรงแรม ตากอันดามันรีสอร์ท ตั้งอยู่ที่จังหวัด ตาก ทางภาคเหนือเข้าชม: 986 | ความคิดเห็น: 0
แมกไม้ โฮมสเตย์ & ทาวเวอร์จากแนวคิดที่ทำอย่างไร จะให้ผู้มาพักได้ใช้บริการ แล้วเกิดความเข้าชม: 984 | ความคิดเห็น: 0
ทีลอซู ริเวอร์ไซด์ทีลอซู ริเวอร์ไซด์เข้าชม: 985 | ความคิดเห็น: 0
ดอกเสี้ยว รีสอร์ทดอกเสี้ยว รีสอร์ทเข้าชม: 987 | ความคิดเห็น: 0
ตรอกบ้านจีนตั้งอยู่ที่ถนนตากสิน ใกล้วัดสีตลาราม ตำบลระแหง เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต โดยมีชาวจีนชื่อ "จีนเต็ง" ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ มาทำการค้าขายไปถึงเชียงใหม่ และได้ขยายกิจการลงมาถึงเมืองตาก ได้เข้าหุ้นส่วนค้าขายกับพ่อค้าจีนอีกสองคนชื่อ "จีนบุญเย็น" และ "จีนทองอยู่" ต่อมาได้เข้าเกี่ยวพันกับระบบราชการไทยกล่าวคือ "จีนบุญเย็น" ได้รับแต่ตั้งเป็น "หลวงนราพิทักษ์" ปลัดฝ่ายจีนเมืองตาก แล้วได้รับแต่งตั้งให้เป็น "หลวงจิตรจำนงค์วานิช" สังกัดกรมท่าซ้าย ส่วนจีนทองอยู่ได้เป็นหลวงบริรักษ์ประชากรกรมการพิเศษเมืองตาก อากรเต็งและหุ้นส่วนทั้งสองใช้ยี่ห้อการค้าว่า "กิมเซ่งหลี" ห้างกิมเซ่งหลีได้เข้ารับช่วงผูกขาดการจัดเก็บภาษีอาการ ที่เมืองเชียงใหม่จึงได้นำพวกคนจีนเข้ามาอยู่ละแวกบ้านนี้ และได้แต่งงานกับผู้หญิงชาวเมืองตากชื่อ "นางก้อนทอง" มีบุตรชายหนึ่งคนและตั้งบ้านเรือนทำการค้าขายขยายวงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 "จีนเต็ง" ได้มอบหมายให้ "หลวงบริรักษ์ประชากร" (จีนทองอยู่) เป็นผู้จัดเก็บภาษีฝิ่น อากรสุรา บ่อนเบี้ย และหวย ก.ข. จนกระทั่ง พ.ศ. 2452 รัฐบาลเริ่มเข้ามาจัดเก็บเอง ภายหลังละแวกหมู่บ้านนี้จึงมีแต่ลูกหลานจีนดำเนินการค้าขาย ปลูกบ้าน ร้านค้า เริ่มมีถนนหนทางแต่เป็นเพียงทางเดินเท้า ร้านค้าจะมีของขายทุกอย่าง ในซอยตรอกบ้านจีนจะมุงหลังคาบ้านชนกัน จึงเป็นท่ร่มใช้เดินถึงกันได้ตลอด มีร้านขายถ้วยชาม ร้านผ้า ร้านหนังสือเรียน ร้านเครื่องอัฐบริขารในการบวชพระ สถานที่ควรพูดถึงในสมัยนั้น คือ สะพานทองข้ามปากคลองน้อยซึ่ง "คุณย่าทอง ทองมา" เป็นผู้สร้างและม่เสาโทรเลขซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า เสาสูง ต่อมามีการปกครองในระบอบประขาธิไตย "นายหมัง สายชุ่มอินทร์" ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรคนแรก ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกนั้น ตรอกบ้านจีนในสมัยนั้นมี 3 หมู่บ้าน หมู่บ้านเสาสูง หมู่บ้านปากครองน้อย หมู่บ้านบ้านจีน ต่อมาปี 2495 ทางเทศบาลได้รื้อสะพานทองและถมเป็นถนน เริ่มมีรถยนต์ใช้และหมู่บ้านก็เริ่มกั้นเขตแดนล้อมรั้ว ปี 2497 มีรถยนต์เล็กๆ วิ่งเข้าออกได้ ตรอกบ้านจีนเริ่มซบเซาลงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2484 ร้านค้าเปิดอพยพไปอยู่ที่อื่นเมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง การค้าขายจึงได้ขยายขึ้นไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันบ้านจีนจึงเหลือแต่บ้านเก่าๆ ซึ่งยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ เหมาะสำหรับเดินทางเที่ยวชมสภาพบ้านเรือนโดยรอบและวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชุมชนตรอกบ้านจีน
Tags :ช๊อปปิ้งประเพณี