พี.เอ็น. เมาเทนรีสอร์ท - พายแคนูดูภาพโบราณ ทัวร์1วัน ราคาพิเศษ
- ชื่อที่พัก / บริษัททัวร์ :
- พี.เอ็น. เมาเทนรีสอร์ท
- ชื่อโปรโมชั่น :
- พายแคนูดูภาพโบราณ ทัวร์1วัน ราคาพิเศษ
- รายละเอียด :
Ancient Painting at Phi-Hua-To cave พายแคนูดูภาพโบราณ ทัวร์1วัน ราคาพิเศษ
พายเรือแคนู... ดูภาพเขียนโบราณ ที่ถ้ำลอด-ถ้ำผีหัวโตทัวร์ 1 วัน ราคาพิเศษ พร้อมอาหารกลางวันเพียง 8 กม. จาก พี.เอ็น.เมาเทนรีสอร์ทถ้ำผีหัวโต ถ้ำหัวกะโหลก
เป็นถ้ำในเขตอำเภออ่าวลึกบริเวณเทือกเขาผีหัวโต ซึ่งมีลักษณะเป็นเขาหินปูนล้อมรอบด้วยป่าโกงกาง นั่งเรือ หรือพายแคนูจากท่าเรือบ่อท่อไปประมาณ 10 นาที เลยทางแยกไปถ้ำลอดใต้เล็กน้อย ห้องโถงของตัวถ้ำแต่เดิมเคยพบหัวกะโหลกมนุษย์ ซึ่งมีขนาดโตกว่าปกติ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ถ้ำผีหัวโต” นอกจากนี้บนผนังถ้ำยังมีภาพเขียนสีโบราณก่อนประวัติศาสตร์อันเลื่องชื่อ ที่ชาวต่างชาตินิยมมาบันทึกภาพจำนวนวมาก เช่น รูปคน รูปสัตว์ และ รูปมือTham Phi Hua To or Tham Hua Kalok(One Day Kayak Trip Program includes Lunch... can be arranged at the front office)
This is a big cave with many grottos in a mountain surrounded by water and mangrove forests. Formerly a ghost with an impressively large skull resided in the cave, from which comes its name; pihua toh means big-headed ghost. Also of interest are the many prehistoric colored pictures of men, animals, and various limbs and organs that decorate the walls. Shells in great numbers, on top of the other, are another feature of this cave. To visit Pi Hua Toh, board a ferry at Bor Tor Pier.ถ้ำลอดเหนือ ถ้ำลอดใต้
สถานที่ตั้ง อยู่ห่างจากอำเภออ่าวลึกไปตาม ถนนอ่าวลึก-แหลมสัก ประมาณ 2 กิโลเมตรแล้วแยกขวาเมื่อถึงทางแยกที่จะไปบ่อท่อ จากนั้นลงเรือรับจ้างตามลำลองท่าปรัง ผ่านป่าชายเลนไปประมาณ 10 นาที ถ้ำใต้เป็นอุโมงค์ใต้เขาหินปูน มีธารน้ำไหลผ่านอุโมงค์เป็นทางแคบๆ มีหินงอกและหินย้อยสวยงาม ส่วนถ้ำลอดเหนือเป็นโพรงน้ำขนาดใหญ่มีแนวอุโมงค์คดเคี้ยว และยาวกว่าถ้ำลอดใต้ เรือสามารถแล่นผ่านได้ แต่เฉพาะในช่วงน้ำลงนั้นปัจจุบันเส้นทางของทั้งสองถ้ำนิยมใช้เป็นเส้นทางพายเรือแคนูผ่านเพื่อลอดทางผ่านแคบๆนั้น เพราะแนวภูผานั้นสวยงามTham Lod Nua - Tham Lod Tai
lie 2 kilometers distant from the district offices on the Ao Luk-Laem Sak road near the watercourse of Klong Ta Prahng. There are two caves :
* Tham Lod Nua : This beautiful cave winds back on itself like an elbow.
* Tham Lod Tai : is a limestone tunnel longer and narrower than one of the same name in Phang-nga Bay. The cave mouth has stalactites and stalagmites and a boulder shaped like the quarter moon lying on its side. Visit this cave when the water is low by boarding a long tail boat at Bor Tor Pier ; the journey takes only 10 minutes.วัดถ้ำปราสาทนาฬาคิริง อ.ปรายพระยา จ.กระบี่ประวัติพระอาจารย์ ขจิต กมโลพระอาจารย์ ขจิต กมโล (บรมสุข) เป็นชาวสงขลาโดยกำเนิด
เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2502 จบการศึกษาชั้น ป. 4
บิดาชื่อนายชื่น บรมสุข มารดาชื่อนางแสวง บรมสุข
มีพี่น้องจำนวน 9 คน ออกบวชเมื่อายุ 25 ปี ที่วัดชายนา
ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พร้อมกับบรรดาครูอาจารย์ต่าง ๆ หลายรูปด้วยกัน
ในที่สุดได้ไปจำพรรษาที่ถ้ำวัว จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ
พรรษาที่ 4 ปี พ.ศ 2529ถ้ำปราสาทนาฬาคิริงที่ได้ชื่อว่าเป็นถ้ำที่สวยที่สุดในเมืองไทย ปัจจุบันอยู่ในเขตของสำนักสงฆ์ปราสาทนาฬาคิริง โดยมีพระอาจารย์ขจิต กมโล เป็นเจ้าสำนัก ท่านได้ดูแลถ้ำให้อยู่ในสภาพธรรมชาติได้เป็นอย่างดี คือมิให้นักท่องเที่ยวเข้าไปขูดขีดทำลายให้เกิดความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้คนไปเยี่ยมเยียนมากขึ้น นี่คือปัญหาหนึ่งที่ทางวัดมิได้เปิดให้บริษัททัวร์นำนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าชมถ้ำ เพราะอาจจะเกิดปัญหาการดูแลรักษาได้ไม่ทั่วถึง จำเป็นที่จะต้องหาทางป้องกันและอนุรักษ์แหล่งถ้ำที่สวยงามเอาไว้
นอกจากเป็นแหล่งธรรมชาติสวยงามแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีต่อไปอีกด้วย
จากการพูดคุยกับพระอาจารย์ ท่านมีภาระที่จะต้องนั่งอยู่ปากทางเข้าถ้ำเพื่อดูแลนักท่องเที่ยวที่เยี่ยมชมเป็นประจำทุกวัน โดยนักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมถ้ำต้องมารายงานตัวกับพระอาจารย์ก่อน และมีน้อง ๆ ลูกหลานชาวบ้านแถบนั้นเป็นผู้นำทางเข้าชมถ้ำ พร้อมบรรยายสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น ตอนที่พวกเราไปชมถ้ำท่านอาจารย์บอกว่าช่วงเทศกาลจะให้ชมถ้ำแค่ 70% เท่านั้น สำหรับวิธีการควบคุมนักท่องเที่ยวขณะนี้กระทำได้แค่ เมื่อกลุ่มใดที่มีปัญหาทำลายธรรมชาติ น้องที่เป็นผู้นักทางก็จะขอร้องห้ามปราม แต่ถ้านักท่องเที่ยวคนใดขัดขืน น้องที่นำทาง 1 ใน 2 คนจะวิ่งมาบอกพระอาจารย์
เจ้าอาวาสไปจัดการกับนักท่องเที่ยวท่านนั้น ซึ่งก็เป็นวิธีการปกป้องธรรมชาติที่ยังคงกระทำได้ แต่สำหรับอนาคตท่านอาจารย์บอกว่าจะต้องหากรรมวิธีที่ดีกว่านี้ และเมื่อถึงวันนั้นก็คงจะเปิดให้กลุ่มบริษัททัวร์นำนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมความงามได้เช่นกันการเดินทางไปถ้ำนาฬาคิริง ตั้งต้นจากเมืองกระบี่ไปตามทางถนนหมายเลข 4 แยกขวามือที่อำเภออ่าวลึกไปตามถนนสายอ่าวลึก-พระแสง ถึงแยกซ้ายมือมีป้ายบอกไปถ้ำนาฬาคิริง ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร (ระยะทางจากโรงแรมกระบี่เมอรีไทม์ ไปสำนักสงฆ์นาฬาคิริง ประมาณ 66 กิโลเมตร)ความเป็นมาของถ้ำปราสาทนาฬาคิริงคืนหนึ่งหลวงพ่อเกิดนิมิตฝันไปว่ามีชายผู้หนึ่งตัวดำ รูปร่างสูงใหญ่ นุ่งผ้าขาวโจงกระเบน สะพายย่ามไม่ใส่เสื้อ มือถือเทียน มาชวนหลวงพ่อให้ไปดูถ้ำแห่งหนึ่ง หลวงพ่อก็เดินตามไป ชายคนนั้นพูดอะไร ๆ มากมายหลายอย่าง พร้อมกับให้หลวงพ่อไปอยู่ในถ้ำนั้น ครั้งแรกหลวงพ่อได้ปฏิเสธ แต่ชายคนนั้นก็พยายามชักจูงพร้อมอธิบายต่าง ๆ นานา จนในที่สุดหลวงพ่อต้องยอมรับตามที่นิมิตนั้นและพาหลวงพ่อออกจากถ้ำ หลวงพ่อได้ลุกขึ้นเจริญสมาธิว่านิมิตรดังกล่าวเป็นอะไรกันแน่ พร้อมกับนำนิมิตดังกล่าวไปบอกเล่าครูอาจารย์ พร้อมกับใช้เวลาสืบหาถ้ำตามนิมิตนั้นไปหลายแห่งหลายที่ จนถึงพรรษาที่ 7 พ.ศ 2533 หลวงพ่อได้กลับมาวัดชายนาที่เคยบวชเมื่อพรรษาแรก ก็พบกับพระภิกษุรูปหนึ่งได้บอกนิมนต์หลวงพ่อให้มาเป็นเจ้าสำนักแหล่งหนึ่งที่อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ก็เลยเดินทางเพื่อหวังพบถ้ำตามนิมิต แต่เมื่อมาถึงก็คิดว่าไม่ใช่ถ้ำในความฝัน ได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น 1 พรรษา พร้อมกับใช้เวลาค้นหาถ้ำตามความฝันเป็นเวลา 2 เดือน จึงพบถ้ำตามนิมิต ในพรรษาที่ 7 ปี พ.ศ 2533 ซึ่งอยู่ห่างจากที่เดิมเพียง 3 กิโลเมตร หลวงพ่อจึงตั้งอธิษฐานขอให้พบเห็นภายใน 3 คืน 5 คืน 7 คืน หลวงพ่อได้อธิษฐาน 3 คืน ว่าขอให้มีใครมาบอกพาไปหาถ้ำ พร้อมทั้งสวดมนต์เจริญสมาธิภาวนา เวลาประมาณ 2 ทุ่ม มีผู้ชาย 3 คนขี่มอเตอร์ไซด์มาบอกว่าอีก 25 วัน ขอนิมนต์พระ 3 รูปไปทำบุญเดือนสิบ หลวงพ่อได้ถามว่าบ้านพวกโยมอยู่ทางไหน มีวัดมีถ้ำหรือไม่ ชาวบ้านบอกว่าไม่มีวัดมีแต่ถ้ำเป็นป่ารกทึบ ไม่มีชาวบ้านคนไหนกล้าเข้าไป หลวงพ่อก็ถามชาวบ้านว่าลักษณะถ้ำเป็นอย่างไร ชาวบ้านบอกว่ามีทางเข้าหลายทาง มีเพิงผาสีขาว หลวงพ่อก็บอกชาวบ้านว่าเวลา 7 โมงเช้าให้มารับหลวงพ่อไปดูถ้ำดังกล่าว เมื่อชาวบ้านนำหลวงพ่อมาถึงบริเวณถ้ำเกิดความรู้สึกว่าเหมือนกับได้เคยพบเคยเห็นมาก่อนในนิมิตฝันเมื่อหลายปีมาแล้ว เมื่อเข้าไปสำรวจดูพร้อมตั้งสมาธิจิตอธิษฐาน ก็เกิดความมั่นใจว่าความฝันเกิดเป็นความจริง ในคืนนั้นจึงพักอยู่ในบริเวณถ้ำพร้อมเจริญสมาธิภาวนาทั้งคืน จนรุ่งขึ้นวันใหม่ก็เริ่มค้นคว้าความเป็นจริง พร้อมกับชาวบ้านมาพัฒนาปรับปรุง ชาวบ้านก็เริ่มแปลกใจว่าทำไมหลวงพ่อมาวันแรกก็ต้องการพัฒนาบริเวณนี้แล้ว คิดว่าจะมาหาสมบัติของเก่าบ้าง หาอะไรต่าง ๆ บ้าง ชาวบ้านเริ่มไม่เข้าใจ หลวงพ่อก็พยายามพูดจาให้ชาวบ้านฟังว่าเคยนิมิตฝันเห็น ชาวบ้านก็หาว่าหลวงพ่อเป็นบ้า หลวงพ่อเป็นโจรปลอมเป็นพระมาหาถ้ำอยู่ แต่ก็ได้พยายามอธิบายว่า ต่อไปบริเวณนี้จะเจริญ ชาวบ้านก็ไม่ยอมเชื่อเพราะหาว่าพระมาหลอกลวง เป็นอย่างนี้ถึง 2 ปี ชาวบ้านไปแจ้งเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอตั้งหลายครั้ง หลวงพ่อได้พยายามพูดจาเล่าความจริงตั้งแต่ต้นให้ฟัง จนชาวบ้านบางคนเริ่มเข้าใจ มาจนกระทั่งทุกวันนี้เมื่อชาวบ้านเข้าใจแล้ว หลวงพ่อก็พยายามสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ สมัยก่อน จากคนหนึ่งไปสู่อีกหลาย ๆ คน ก็ได้รับคำบอกเล่าว่าทุก ๆ ปี จะมีน้ำท่วมมาก ชาวบ้านเคยพบงูขนาดใหญ่ 2 ตัวสีขาวกับสีดำ จะออกมาเล่นน้ำอยู่หน้าถ้ำ ให้ชาวบ้านเห็นเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านบางคนเล่าว่า บางครั้งจะได้ยินเสียงกลองหรือเสียงคล้ายสวดมนต์ทั้งวันทั้งคืน จึงเชื่อกันว่ามีผีในถ้ำ ไม่มีใครกล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยว จนกระทั่งหลวงพ่อมาอยู่ บางคนบอกว่าอยู่ไม่ได้หรอกมีทั้งงูใหญ่ มีทั้งผีและนำท่วม เมื่อหลวงพ่อได้มาอยู่จริง ๆ ได้สวดมนต์ภาวนาบำเพ็ญสมาธิตั้งอธิษฐานจิตบอกต่อเจ้าของถ้ำที่รักษาดูแล หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน หลวงพ่อก็ได้กลิ่นเหมือนมีซากศพอะไรตายอยู่ ให้ชาวบ้านและเด็ก ๆ เที่ยวเดินดูก็พบซากงูใหญ่ประมาณ 2 วา ลักษณะเหมือนกัดหางตัวเองนอนตายอยู่ 1 ตัว จึงให้ชาวบ้านและเด็ก ๆ ช่วยกันขุดหลุมฝังเอาไว้ หลายเดือนต่อมาได้ขุดกระดูกขึ้นมาดูและเก็บไว้ได้ 1 ขวดใหญ่ หลวงพ่อได้นิมิตไปว่างูใหญ่ที่ตายแล้วได้มาปรากฎให้เห็นหลายครั้ง พร้อมทั้งไปเข้าฝันชาวบ้านอื่น ๆ อีกด้วย จนทำให้ชาวบ้านในหลายถิ่นได้มารู้จักถ้ำแห่งนี้มากขึ้น หลังจากนั้นจึงได้ตั้งชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า “ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง” โดยถือเอานิมิตก้อนหินในถ้ำเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องขนาดใหญ่ หินบางก้อนก็มีรูปร่างคล้ายมนุษย์สมัยโบราณ บริเวณพื้นถ้ำก็พบหลักฐานพวกกระดูก ฟัน ของมนุษย์ เศษภาชนะดินเผาหลายอย่างด้วยกัน หลักฐานบางอย่างยังเก็บไว้ให้ชม อาจมีประโยชน์ทางการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีต่อไปหลวงพ่อได้พัฒนาบริเวณแหล่งถ้ำภายนอก จัดทำเป็นสำนักสงฆ์ แต่ภายในโพรงถ้ำที่เป็นแหล่งธรรมชาติ พยายามรักษาสภาพเดิมเอาไว้ให้ได้มากที่สุด จึงพยายามจัดระบบการดูแลเท่าที่จะสามารถกระทำได้ คือจัดทำป้ายขอความร่วมมือในการอนุรักษ์ ต่อสายไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการชมและให้พระหรือสามเณรช่วยเป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้นำทางในการเข้าชมถ้ำ ส่วนภายนอกจะพยายามปรับปรุง ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมเพื่อจะให้เป็นแหล่งธรรมชาติ และเพื่อความรุ่นรื่นของสถานที่
การก่อสร้างอื่น ๆ จะทำภายนอกถ้ำทั้งหมดจากการที่เคยพบซากงูขนาดใหญ่ หลวงพ่อคิดว่าน่าจะมีการเกี่ยวพันกับแหล่งถ้ำแห่งนี้ จึงได้สร้างรูปงูใหญ่ไว้ทางหน้าบริเวณทางเข้าสำนักสงฆ์ 2 ตัว ซึ่งถือว่างูใหญ่เปรียบเสมือนผู้ดูแลถ้ำ ไม่ให้มีใครเข้ามาทำลายเพื่อจะรักษาแหล่งธรรมชาตินี้ไว้ให้ลูกหลานได้ชมและช่วยกันอนุรักษ์สืบไป
- ชื่อผู้ติดต่อ :
- -
- เบอร์ติดต่อ :
- -
- Website :
- http://
- จังหวัด :
- กระบี่
- วันที่ประกาศ :
- 23 เมษายน 2552 15:08:04