แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก
:จังหวัดน่าน
ที่พักน่าน{ พบ 9 รายการ }
เรือนสร้อยไข่มุก อ.เมือง จ.น่านเรือน สร้อยไข่มุก บ้านฟ้าใหม่ ต.ผาสิงห์ อ. เมือง จ. น่าน เข้าชม: 980 | ความคิดเห็น: 0
Nan Guest HouseBudget Accommodation clean rooms. Situated near the Center เข้าชม: 979 | ความคิดเห็น: 0
อูปแก้วรีสอร์ทโรงแรมอูปแก้วรีสอร์ทตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ขุนเขา แม่น้ำ แเข้าชม: 986 | ความคิดเห็น: 0
ไร่จุฑามาศ รีสอร์ทยินดีต้อนรับ สู่ปลายฟ้าล้านนาตะวันออก น่าน ดินแดนทางตอนเหนเข้าชม: 980 | ความคิดเห็น: 0
แกรนด์ แมนชั่นยินดีต้อนรับสู่โรงแรมแกรนด์แมนชั่นที่พักของเราเหมาะสำหรับนักเข้าชม: 992 | ความคิดเห็น: 0
น่าน วัลเล่ย์ รีสอร์ทNan...One of the northern provinces next to Loas which is veเข้าชม: 979 | ความคิดเห็น: 0
เดอะซิตี้ปาร์ค โฮเตลThe City Park Hotel is nestled on the quiet area just 5 minuเข้าชม: 984 | ความคิดเห็น: 0
เทวราชNan's finest hotel. Our hotel is located right in the heart เข้าชม: 977 | ความคิดเห็น: 0
เวียงสาพาราไดซ์การ์เดนท์แอนด์รีสอร์ทWe would like to invite you to come and enjoy the warm and fเข้าชม: 999 | ความคิดเห็น: 0
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก บริเวณบ้านบ่อสวกนี้ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่าน มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง คาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาจากบ้านบ่อสวกคงจะเคยได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ขุดพบตามแหล่งฝังศพของคนในสมัยก่อน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดตาก และกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าการผลิตเครื่องเคลือบที่บ้านบ่อสวกเริ่มขึ้นและพัฒนาในสมัยเจ้าพระยาพลเทพฤาชัย (พ.ศ.2071-2102) ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของเมืองน่าน วิทยาการเตาเผาและเครื่องเคลือบเมืองน่านได้รับจากล้านนา เช่น จากกลุ่มสันกำแพง กลุ่มกาหลง ซึ่งเป็นกลุ่มเตาใกล้นครเชียงใหม่
เตาเผาแห่งนี้ได้รับการสำรวจและศึกษาเบื้องต้น โดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นแหล่งโบราณคดีชุมชนอยู่ที่บ้านบ่อสวกพัฒนา หมู่ 10 ตำบลบ่อสวก ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร แหล่งที่มีการค้นพบเตาเผาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ในเขตบ้านพักของ จ.ส.ต.มนัส และคุณสุนัน ติคำ บริเวณที่พบเตาอยู่ริมแม่น้ำ ลักษณะของเตาหันหน้าเข้าหาแม่น้ำเพื่อสะดวกในการขนส่ง ภายในเป็นโพรงใหญ่เพื่อให้คนเข้าไปข้างในได้ เตามีความลาดเอียงและมีปล่องระบายอากาศอยู่ด้านบน เตาโบราณจำนวน 2 เตาได้รับการบูรณะ และก่อสร้างอาคารถาวรคลุม ส่วนบริเวณใต้ถุนบ้าน จ่ามนัสจัดเป็นนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุจากแหล่งเตาเผา
การขุดค้นศึกษาแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ในการทำงานวิจัยทาง “โบราณคดีชุมชน” โดยการร่วมมือระหว่างชาวบ้าน องค์กรเอกชน ส่วนราชการในท้องถิ่น และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความงอกงามทางความรู้และความเข้มแข็งของชุมชนไปพร้อมกัน ในอนาคตจะมีการจัดตั้งกองทุนโบราณคดีชุมชนบ้านบ่อสวก และนำเงินจากกองทุนเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน เช่น การฟื้นฟูอาชีพเครื่องปั้นดินเผา การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมู่บ้าน และการอบรมมัคคุเทศก์ชุมชน