จังหวัดชัยภูมิ
:ข้อมูลทั่วไป
ที่พักชัยภูมิ{ พบ 10 รายการ }
ไร่ภูเทพพิมานรีสอร์ทไร่ภูเทพพิมาน บริการห้องพักหลากสไตล์ ชมทิวทัศน์ป่าเขาเข้าชม: 1022 | ความคิดเห็น: 0
สะเลเต ชาเล่ต์สะเลเตชาเล่ท์ โทร. 081-815-1543 เป็นบ้านพักสไตล์บาหลีผสมกับสเข้าชม: 1001 | ความคิดเห็น: 0
สยามริเวอร์ รีสอร์ท ชัยภูมิคืนสู่ ธรรมชาติ... ร่วมกับความรู้สึกแห่งความภาคภูมิใจในจังหวเข้าชม: 1013 | ความคิดเห็น: 0
สตรอเบอรี่ ฮิลล์ (ภูพร้อมดาว)สตรอเบอรี่ ฮิลล์ (ภูพร้อมดาว) กว่า 14 ปีที่เราตั้งใจแต่งเเข้าชม: 1007 | ความคิดเห็น: 0
ไร่เอ๋ยฝุ่นยินดีต้อนรับสู่โฮมเพจของ " ไร่เอ๋ยฝุ่น " ทเข้าชม: 1009 | ความคิดเห็น: 0
ภูสวย น้ำใส รีสอร์ทสุขใจ... ท่ามกลางบรรยากาศริมบึงผักบัว สวนไม้ดอก ไม้ประดับ อัเข้าชม: 999 | ความคิดเห็น: 0
ไร่ภูเงินไร่ภูเงิน บ้านพักตากอากาศอยู่ซ้ายมือก่อนถึงอุทยานแห่งชาติป่าเข้าชม: 1028 | ความคิดเห็น: 0
บ้านไร่อิงดอยบ้านพักมีสไตล์กลมกลืนกับธรรมชาติ บนเขาสูง 800 เมตรจากระดับน้เข้าชม: 993 | ความคิดเห็น: 0
สยามริเวอร์ รีสอร์ทสถานที่พักผ่อนบนเนื้อที่กว่า 27 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองชเข้าชม: 996 | ความคิดเห็น: 0
บ้านไร่เทพไกรวัลล ์บ้านไร่เทพไกรวัลล ์เรือนรับรองที่์เกิดจากแรงบันดาลใจและความมเข้าชม: 1004 | ความคิดเห็น: 0
ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล
ชัยภูมิ ตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวแสนงาม และสายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูพังเหย ภูแลนคา ภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี
ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอ คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอคอนสาร อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเนินสง่า และอำเภอซับใหญ่
ประวัติศาสตร์
สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี เมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และเมื่อปี พ.ศ. 2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน
แหล่งข้อมูล :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวงซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด (เขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์อีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงขึ้นเป็น เมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก
ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพมหานคร โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพมหานครรบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นต่อมาเมื่อความแตก เจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาเพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทน์
เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไป ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล) เข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัด ขอนแก่น
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
โรงพยาบาลชัยภูมิ โทร. 0 4481 1005-8
ศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 2516, 0 4481 1376
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ โทร. 0 4481 1418
สถานีขนส่งชัยภูมิ โทร. 0 4481 1493
สถานีตำรวจ โทร. 0 4481 1242
Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ
http://www.chaiyaphum.go.th